เรื่องนี้...HOT จริงๆ

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ดักแด้ผีเสื้อ อาหารอันโอชะของคนสวน



ช่วงนี้อากาศบนสวนเริ่มคลายหนาว กำลังเข้าสู่ฤดูร้อน อากาศเริ่มแห้งแล้ง ต้นหญ้าในสวนเริ่มแห้ง ชาวสวนส่วนใหญ่ก็เริ่มให้น้ำต้นลองกอง ทุเรียน เพื่อเพิ่มความชื้น
 เนินเขา สวนห้วยผึ้งจันทร์ผา
การเตรียมการรับไฟป่า ที่จะลุกลามเข้าสวนก็เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งของชาวสวน จะต้องทำแนวกันไฟ ในเขนพื้นที่ที่มีรอยต่อกับป่าบนเขา ที่สวนห้วยผึ้งจันทน์ผา ก็เช่นเดียวกัน วันนี้จ้างคนงานทำแนวกันไฟ ระยะทางก็หลายร้อยเมตร ค่าแรงคิดเป็นวัน ๆ ละ 500 บาท น้ำมันเครื่องตัดหญ้า และอาหารกลางวัน อาหารว่าง เจ้าของสวนต้องเตรียมไว้ คนงานเอาเครื่องตัดหญ้ามาอย่างเดียว
 ทางขึ้นสวน
ระหว่างหยุดพักเที่ยง เห็นคนงานเดินไปที่ต้นกระท้อน แล้วเก็บใบกระท้อนที่มีลักษณะห่อเป็นก้อนมา 4 – 5 อัน มาวางไว้ที่ศาลาก้อนเส้าเตาไฟ บอกว่าอย่าเอาของผมไปทิ้งนะ แล้วเขาก็ขึ้นไปบนเขาทำแนวกันไฟต่อ

 ต้นกระท้อน
ตกเย็นผมก็เริ่มย่างหมู แล้วก็จัดการเตรียมอาหารมื้อเย็น ประเภทล้อมวงสาโท ผมดื่มไม่ได้ก็ได้แต่นั่งเป็นเพื่อนคุย พอได้โอกาสผมก็ถามเรื่องก้อนใบกระท้อน คนงานเขาบอกว่าเป็นดักแด้หนอนผีเสื้อกระท้อน หรือหนอนผีเสื้อยักษ์
 ผีเสื้อยักษ์หรือผีเสื้อกระท้อน
ก็คุยกันต่อเรื่องดักแด้หนอนผีเสื้อ เขาบอกว่าจะเอาไปทอดกินเป็นอาหาร วิธีการปรุงก็คือต้องนำไปต้มในน้ำให้เกือบสุกก่อน แล้วจึงนำไปทอดในน้ำมัน เพราะถ้านำไปทอดเลยจะแตกน้ำมันจะกระจายแรงมาก พอทอดเสร็จจะได้ดักแด้ทอดที่ข้างในมีสีเหลืองคล้ายไข่แดงของไข่ไก่ (บอกตรง ๆ ว่าผมยังไม่กล้าลองทานคิดว่าโอกาสหน้าต้องลองทานให้ได้ ) เขาบอกว่าอร่อยกว่าหนอนด้วงมะพร้าว  ผมก็ยังไม่เคยทานด้วงมะพร้าวเหมือนกัน เลยแยกไม่ออก
 รังดักแด้ผีเสื้อใบกระท้อน
เอาละครับ โอกาสหน้าถ้าใครมีโอกาสขึ้นไปบนสวนห้วยผึ้งจันทน์ผา ฤดูนี้ก็ลองถามหากันนะครับ ผมจะทำให้รับประทาน วันนี้ก็ได้แต่นำภาพมาให้ชมก่อน ถ้ามีเวลาก็จะชิมละครับ...

 ดักแด้ผีเสื้อยักษ์

ขอขอบคุณข้อมูลภาพจาก


วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

หอม ที่ไม่หอม ในอำเภอลับแล



หอม ที่ไม่หอม ในอำเภอลับแล
คำขวัญอำเภอลับแล “งามพระแท่นศิลาอาสน์ ถิ่นลางสาดรสดี เมืองพระศรีพนมมาศ แหล่งไม้กวาดตองกง ดงหอมแดงลือชื่อ งามระบือน้ำตกแม่พูล” คราวนี้จะขอพูดถึง หอมแดง เพราะว่าชาวลับแลที่ทำนานิยมปลูกกันมาก มีพื้นที่ปลูกมากในตำบลฝายหลวง,ศรีพนมมาศ,ชัยจุมพล, ไผ่ล้อม,ทุ่งยั้ง,ด่านแม่คำมัน
หอมแดง
หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวในนาเสร็จ ประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน ชาวบ้านลับแลก็จะเริ่มปลูกหอมกันในช่วงเดือนปลายเดือนธันวาคม โดยเริ่มเตรียมพื้นที่นา และเตรียมฟางสำหรับปกร่อง พร้อมทั้งเตรียมปุ๋ยมูลสัตว์ นิยมใช้ขี้ไก่แกลบ
เตรียมพื้นที่
ฟาง และขี้ไก่แกลบ
จากนั้นก็จะทำเป็นร่องในผืนนา พร้อมทั้งพรวนดินในร่องให้ละเอียด เพื่อที่จะได้นำเชื้อหอมมาจิ้มในร่อง แล้วสูบน้ำใส่ในร่องแต่ละร่องให้ทั่ว
เตรียมชักร่องในนาข้าว
พรวนดินในร่อง
เมื่อหอมแดงแตกหน่อแล้ว ก็ให้น้ำเป็นระยะ ๆ โดยใช้เครื่องสูบ ๆ น้ำพ่นเป็นละอองฝอย แล้วแต่บางสวนจะให้หัวพ่นชนิดใด
รดน้ำแบบหัวพ่นแถวเดียว
รดน้ำแบบหัวพ่นหลายแถว
เมื่อหอมโตเต็มที่ ถ้าราคาหอมต้นราคาดี ก็จะเก็บเกี่ยวส่งตลาดในช่วงนี้ แต่ถ้าราคาหอมต้นไม่ดี ก็จะปล่อยให้เป็นหอมแก่จัดจนลงหัว ที่เรียกว่า หัวหอม หรือ หอมแดง นั่นเอง
เต็มทุ่งนา
มองสุดลูกหูลูกตา
เริ่มโตเต็มที่
ขายเป็นต้นหอม
ขายเป็นหัวหอมแดง